ประวัติของดาบ Tomoyuki Yamashita’s Sword

June 4, 2020 - admin

Comments are off for this post.

หนึ่งในอาวุธระดับตำนาน ซึ่งเป็นอาวุธคู่ใจของนักรบผู้ยิ่งใหญ่ จะขาดดาบไปไม่ได้เลย สำหรับวันนี้เราจะมาแนะนำให้คุณผู้อ่านได้ทำความรู้จักกับหนึ่งในดาบที่ผลิกโฉมสงครามมาแล้ว อย่างดาบ Tomoyuki Yamashita’s Sword

ทำความรู้จักกับ Tomoyuki Yamashita กันก่อน

Tomoyuki Yamashita เขาเป็นนายพลแห่งกองทัพญี่ปุ่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งยืนอยู่ในระดับแถวหน้า ในการบุกรุกตะลุยแหลมมลายู และสิงคโปร์ ความสำเร็จของเขาในการพิชิตแหลมมลายู และสิงคโปร์ในช่วงระยะเวลา 70 วันนำไปสู่การล่มสลายอันน่าอดสูของสิงคโปร์ ซึ่งเป็นการยอมรับความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์การทหารของอังกฤษ Tomoyuki Yamashita’ ได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘เสือแห่งมลายา’ แห่งหมู่ทหารอังกฤษ หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 Yamashita ก็พยายามเดินหน้าท้าทายอาชญากรรมสงคราม เกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่ ณ กรุงมะนิลา และการสังหารโหดอื่นๆ ในฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ในกรณีนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎของสหรัฐอเมริกา ในส่วนที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่ออาชญากรรมสงคราม โดยสร้างกฎหมายซึ่งเรียกว่า Yamashita Standard ขึ้นมา

Tomoyuki Yamashita’s หนึ่งในดาบอันน่าเกรงขาม

Tomoyuki Yamashita’s ได้รับการตีโดย นักสร้างดาบชื่อดังนาม Fujiwara Kanenaga ต่อมาในช่วงระหว่างปี 1640 -1680 Tomoyuki Yamashita’s นำไปใช้ในอาชญากรรมสงคราม และประหารชีวิตนายพล Douglas MacArthur ซึ่งดาบอันทรงคุณค่าเล่มนี้ นำไปจัดแสดงพร้อมทั้งรักษาในพิพิธภัณฑ์ทหาร ดาบเป็นงานชิ้นเดียวในชุดสะสมอาวุธทหารที่พิพิธภัณฑ์ West Point แต่จุดจบของเจ้าของดาบไม่น่าอภิรมย์นัก

หลังจากสงครามจบลง Tomoyuki Yamashita พยายามเดินหน้าก่ออาชญากรรมสงคราม โดยอาศัยกองกำลังภายใต้คำสั่งของเขา ในระหว่างการป้องกันประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถูกยึดครองจากฟิลิปปินส์ ในปี 1944 ในการพิจารณาคดีการจากตรวจสอบพบว่า Yamashita ถูกขุดคุ้ยว่า เขามีความผิดฐานทารุณทหาร ถึงแม้ว่าจะไม่มีหลักฐานว่าเขาอนุมัติคำสั่งนี้ก็ตาม โดยความโหดร้ายหลายอย่างที่เกิดขึ้นในกองกำลัง ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้คำสั่งของเขา Yamashita ถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในปี 1946

Tomoyuki Yamashita ได้รับคำครหามากมาย

จากการรณรงค์ และการยึดครองสิงคโปร์ของญี่ปุ่น รวมถึงอาชญากรรมสงครามที่เกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่พันธมิตร และพลเรือนที่ถูกจับเป็นเชลย เช่น เหตุการณ์การสังหารหมู่ Sook Ching มีกระแสโทษว่าเป็นความผิดของ Yamashita โดยเหตุการณ์เหล่านี้ ยังคงเป็นเรื่องของความขัดแย้งอันน่าฉงน เนื่องจากบางคนแย้งว่าเขาไม่สามารถป้องกันการกระทำของลูกน้องได้ทั้งหมด ส่วนคำสั่งให้ประหารชีวิตชาวจีน 50,000 คน ก็มาจากคำให้การหลังจบสงคราม มาจากเจ้าหน้าที่อาวุโสหลายคน ซึ่งหลายๆ คนก็ออกมาแย้งอีกว่า การเดินทางไปต่อสู้ในประเทศจีนเป็นเรื่องปกติที่จะต้องมีการสังหารหมู่เพื่อปราบประชากร

Yamashita ออกมาขอโทษผู้รอดชีวิตเพียงไม่กี่คนที่เหลือรอด โดยคำสั่งของทหารในยุคนั้นกล่าวว่า ‘ไม่มีการปล้นสะดม, ไม่มีการข่มขืน, ไม่มีการวางเพลิง เด็ดขาด โดยทหารที่กระทำการเช่นนี้ จะต้องถูกลงโทษอย่างรุนแรง และหัวหน้าของเขาก็ต้องแสดงความรับผิดชอบ

อย่างไรก็ตามคำเตือนของ Yamashita ที่มีต่อกองกำลังของเขานั้น มักไม่ได้รับการเอาใจใส่ และมีการรายงานการกระทำรุนแรงอยู่บ่อยครั้ง โดยลูกน้องของเขาคนหนึ่งแย้งว่า ประเด็นหลักคือถึงแม้ Yamashita จะเป็นนักยุทธศาสตร์ และผู้นำที่ยอดเยี่ยม แต้ด้วยลักษณะนิสัยของเขามักจะขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่ทั่วไป และกระทรวงสงคราม การปฏิบัติอย่างมีมนุษย์ธรรมของเขาต่อเชลยศึก และผู้นำอังกฤษ ทำให้เจ้าหน้าที่คนอื่นมีความยากลำบากในการตกลง กับเขา ถึงแม้จะไม่มีลายนิ้วมืออนุมัติการสังหารหมู่ที่ Sook Ching แต่เจ้าหน้าที่อาวุโสหลายๆ คนชี้ไปยัง Yamashita และยังเป็นเรื่องถกเถียงกันอยู่ว่าในเรื่องนี้เขาไม่มีส่วนร่วมโดยตรง และในความเป็นจริงลูกน้องของเขาต่างหากที่อยู่เบื้องหลังในเรื่องโหดร้ายเช่นนี้ ปิดตำนานเจ้าของดาบอันสุดแข็งแกร่งไปอีกหนึ่งคน

admin